จัดสวนบนหลังคาบ้าน

จัดสวนบนหลังคาบ้าน หลังคาบ้านทำอะไรได้มากกว่าที่คิด สวนสีเขียว ปลูกผักให้บ้านเย็นในเรื่องของความเหมาะสมกับทุกวัย ตอบโจทย์เป็นที่สุด แต่ในเรื่องความร้อนที่เข้าสู่ตัวบ้าน ทำให้หลายคนต้องคิดซ้ำแล้วซ้ำอีกว่าการสร้างบ้านชั้นเดียวจะทำให้ภายในอยู่เย็นสบายหรือไม่ คลิ๊กที่นี่
เนื่องจากไม่มีชั้นอื่น ๆ มาเป็นปราการกรองความร้อนให้เหมือนบ้านหลายชั้น การกันความร้อนให้กับบ้านชั้นเดียวมีหลากหลายวิธีด้วยกัน ตั้งแต่การออกแบบทรงหลังคาให้มีความสูงโปร่ง การติดตั้งฉนวนกันความร้อน การเปิดช่องรับลมให้เหมาะสม รวมถึงการจัดสวนสีเขียวบนหลังคาหรือดาดฟ้า

บ้านชั้นเดียวหลังคาแบนที่สร้างอยู่ท่ามกลางพื้นที่ธรรมชาติ มีต้นไม้ล้อมรอบและมีทะเลอยู่ไม่ไกล สถาปนิกหรือนักออกแบบคำนึงถึงการอยู่อาศัยที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ ได้รับทั้งความสดชื่นและสามารถมองเห็นวิวสวย ๆ ได้อย่างเต็มตา ออกแบบหลังคาให้เป็นดาดฟ้าขึ้นไปเฝ้ามองธรรมชาติได้ทุกเวลา และเลือกที่จะใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า
ด้วยการแบ่งช่องให้เหมือนแปลงผัก จะปลูกหญ้า ปลูกผักสวนครัวก็ได้ตามใจนึก มีการวางระบบน้ำไว้เรียบร้อย ไม่ต้องหิ้วถังจากด้านล่างมาถึงด้านบนเปิดช่องแสงบนหลังคาให้แสงสว่างจากธรรมชาติส่องกระจายภายในบ้าน ทั้งเวลากลางวันและกลางคืน ภายในบ้านจะไม่รู้สึกอับแสงอย่างแน่นอน
สนามหญ้าหรือแปลงผักบนหลังคาสร้างความเย็นให้กับภายในบ้านได้โดยไม่สงสัย ประกอบกับการออกแบบช่างระบายอากาศ รับเข้า ปล่อยออกให้เหมาะสมทุกทิศทาง อากาศจึงหมุนเวียนได้ดี ยิ่งทำให้บ้านอยู่สบายยิ่งขึ้น เติมความอบอุ่นด้วยงานไม้สีน้ำตาล ลดความดิบของคอนกรีตให้อยู่ในจุดสมดุล บ้านโมเดิร์นไม่แข็งจนเกินไปดูเป็นมิตรกับธรรมชาติกว่าเดิม
ระดับพื้นดินที่ไม่ราบเรียบ พื้นที่หลังบ้านจึงต้องปรับยกสูงให้เสมอกับตัวบ้านด้านหน้า ทำให้มีระเบียงที่ยื่นออกมาเป็นมุมพักผ่อนแสนผ่อนคลายของครอบครัวอีกมุมหนึ่งบ้านหลายหลังคงอยากได้สวนบนดาดฟ้า เพราะไม่เพียงแค่ทำให้ภายในบ้านเย็นสบายเท่านั้น ยังเป็นการสร้างความกิ๊บเก๋ให้กับบ้านได้ด้วย แต่ก่อนจะทำการจัดสวนสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงคือการป้องกันการรั่วซึม เช็คโครงสร้างของดาดฟ้าว่าสามารถรองรับน้ำหนักการจัดสวนได้แค่ไหน มีรอยแตกร้าวหรือไม่ ไม่เช่นนั้นความเก๋กู๊ดที่คิดไว้ อาจสร้างปัญหาจุกจิกตามมาก็เป็นได้

เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน ทางเราขออธิบาย Green Roof ก่อนว่าเป็นการปลูกพืชบนหลังคา ซึ่งรวมถึงการจัดสวนบนหลังคาด้วยเช่นกัน เรามักจะพบเห็นได้ทั่วไปคือ การปลูกหญ้าประดับบนหลังคาบ้าน หรือการปลูกพืชจัดสวนบนหลังคาชั้นดาดฟ้าของร้านกาแฟ และก็มีหลายคนสับสนกันระหว่าง Green Roof กับ”หลังคาเขียว”
ขออธิบายเลยว่า หลังคาเขียว เป็นเทคโนโลยีระบบหลังคาที่ช่วยประหยัดพลังงาน ซึ่งหนังสือบางเล่มหรือเว็บไซต์บางส่วน รวม Green Roof เป็นส่วนหนึ่งของหลังคาเขียวGreen Roof หรือการปลูกพืชบนหลังคานั้นสันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยบาบีโลน และบ้านพื้นถิ่นของชาวยุโรปแถวสแกนดิเนเวียน ที่ใช้ไม้ทำหลังคา เปลือกไม้มุงหลังคา และปลูกหญ้าคลุมบนหลังคา เพื่อลดการสูญเสียความร้อนให้แก่บ้าน และได้ถูกนำมาใช้ยังอาคารขนาดใหญ่ในแถบประเทศตะวันตก ก่อนจะเริ่มได้รับความนิยมในไทยครับำ
แบบบ้านหลังคาต้นไม้ Green Roof จัดสวนบนหลังคา

หลังจากได้นำแบบบ้านหลังดังกล่าวนี้ โชว์เป็นไอเดียระแนงหน้าบ้านผ่านแฟนเพจบ้านไอเดีย ทำให้แฟนเพจหล่ายท่าน อยากที่จะชมทั้งหลัง บ้านไอเดียก็มีหน้าที่จัดให้ตามคำขอ สำหรับบ้านหลังนี้ จุดเด่นหลักๆ อยู่ที่การทำหลังคาบ้าน ให้ดูเป็นธรรมชาติ จัดสรรพื้นที่สีเขียวไว้อย่างงดงาม ลองจินตนาการดูว่า หากหลายๆ
บ้านรณรงค์การออกแบบบ้านเพื่อรองรับการปลูกต้นไม้บนหลังคา เมื่อมองจากมุมบน หรือแผนที่ Google Earth แม้จะเป็นพื้นที่ในย่านชุมชนเมือง ก็ดูเหมือนในผืนป่าธรรมชาติ เพราะมุมมองจากด้านบนจะบัดบังพื้นที่ของด้านล่างไว้ แม้จะทดแทนต้นไม้ในลักษณะป่าไม่ได้ แต่ก็น่าจะช่วยโลกของเราให้ดูสวยน่าอยู่ขึ้นได้มาก
รูปแบบของ Green Roof หรือ Roof Garden สามารถแบ่งกว้างออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ
1. Intensive Roof Garden คือ หลังคาเขียวหรือสวนหลังคาแบบใช้สอย หมายถึง การปลูกพืชบนหลังคาที่เราสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์จากพื้นที่ตรงนั้นได้ เช่น ใช้เป็นพื้นที่นั่งเล่นพักผ่อน เหมาะสำหรับทาวน์โฮมที่มีชั้นดาดฟ้า แต่ไม่มีพื้นที่ภายนอกอาคาร ข้อควรคำนึงถึงคือ ต้องหมั่นดูแลสวนให้สวยงามอยู่เสมอ และอาจมีราคาสูงเนื่องจากการดูแลพื้นที่ดังกล่าว
2. Extensive Roof Garden คือ หลังคาเขียวหรือสวนหลังคาแบบไม่ใช้สอย หมายถึงการปลูกพืชคลุมบนหลังคา โดยที่เราไม่สามารถเข้าไปยังพื้นตรงนั้นได้ เช่น การปลูกพืชบนหลังคาที่มีความลาดเอียงโดยปลูกเพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับตัวบ้าน ข้อควรคำนึงถึง ควรปลูกพืชชนิดพืชคลุมดิน พืชอวบน้ำ และพืชทนแล้งชนิดต่างๆ จะทำให้ลดการดูแลและลดค่าใช้จ่าย

เมื่อทราบข้อมูลพื้นฐานต่างๆของ Green Roof แล้ว ตอนนี้ก็มาถึงส่วนประกอบของ Green Roof โดยส่วนประกอบของGreen Roof ในบทความนี้จะอธิบายวิธีการทำ Grren Roof หลังคาคอนกรีต ซึ่งจะแบ่งออกเป็นชั้นๆ ประกอบด้วยชั้นต่างๆ ดังนี้
1. หลังคาคอนกรีต เมื่อตัดสินใจทำ Green Roof หลังคาคอนกรีตควรทำระบบกันซึมให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้เกิดปัญหารั่วซึมเมื่อเราปลูกพืชคลุมหลังคา
2. ปูกระดาษกันความชื้นหรือปูแผ่นพลาสติกกันน้ำ เพื่อป้องกันน้ำซึมไปยังพื้นหลังคา
3. ตะแกรงระบายน้ำ ช่วยระบายน้ำเมื่อเราลดน้ำต้นไม้ ไม่ให้เกิดน้ำขังป้องกันรากเน่า
4. แผ่นผ้ากรองหรือแผ่นใยสังเคราะห์ระบายน้ำ (Geotextile) เพื่อช่วยพยุงชั้นดินหรือวัสดุปลูก
5. วัสดุปลูก ในที่นี้หมายถึง ชั้นดินปลูกก็ได้ แต่ด้วยเทคโนโลยี ทำให้มีวัสดุปลูกสำเร็จที่ง่ายต่อการใช้งายให้เลือกตามความเหมาะสมของพื้นที่ คือ แบบถาด แบบถุง หรือแบบแผ่น เป็นแบบสำเร็จสามารถซื้อมาวางบน พื้นหลังคาที่เราทำกันซึมและวางระบบระบายน้ำได้เลย
6. พืชพรรณ ควรปลูกพืชที่มีความเหมาสมกับพื้นที่ เช่นไม่ปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่ ควรเป็นไม้ประดับขนาดเล็ก หรือพืชรากสั้น เป็นต้น
ประโยชน์ของ Green Roof นอกจากจะเป็นพื้นที่สีเขียวของบ้านที่สร้างความสบายตาและสวยงามให้กับบ้านแล้ว Green Roof ยังช่วยลดความร้อนที่จะเข้าสู่ตัวอาคาร เพราะ ต้นไม้ที่ปกคลุมบนหลังคาจะช่วยสะท้อนความร้อนและทำให้อาคารเย็นขึ้น นอกจากนี้เมื่อความร้อนเข้าสู่อาคารได้น้อยลงก็ทำให้เราประหยัดพลังงานที่ใช้ทำความเย็นภายในบ้าน เมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ต้องทำงานหนัก ก็ทำการยืดอายุให้เครื่องใช้ไฟฟ้า

นอกจากนี้ Green Roof เราสามารถปลูกเป็นผักสวนครัวบนหลังคา เป็นแหล่งอาหารสด ลดค่าใช้จ่ายภายในบ้านได้อีกด้วยสำหรับการทำ Green Roof นั้นอาจก่อให้เกิดปัญหากับตัวบ้านหรืออาคารได้ ดังนี้ ปัญหาหารรั่วซึม เนื่องจากการปลูกพืชคลุมบนหลังคา ซึ่งต้องมีการลดน้ำอยู่เป็นประจำ อาจก่อให้เกิดการรั่วซึมของหลังคาได้
ดังนั้นก่อนที่จะทำ Green Roof ควรทำกันซึมหลังคาให้เรียบร้อยเสียก่อน นอกจากปัญหาการรั่วซึมแล้ว การเลือกปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่เกินไปหรือการปลูกโดยไม่ได้คำนวณโครงสร้างหลังคาก่อน อาจก่อให้เกิดการทรุดตัวของหลังคาได้ เนื่องจากรับน้ำหนักของดินปลูกหรือต้นไม้ไม่ไหว ดังนั้นก่อนทำ Green Roof จึงต้องมีการคำนวณโครงสร้างให้ดีเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจตามมาครับ